Header Ads

ม.เกษตร เผยผลงานวิจัย เด็ก เยาวชน คนพิการ ถูกละเลย จากทีวีไทย


เมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ร่วมกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดกิจกรรมเปิดนิทรรศการ (Open House) และนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง ความหลากหลายทางพหุนิยมของกิจการโทรทัศน์ หรือ Diversity and Pluralism ณ อาคารมิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ กรุงเทพมหานคร



ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านกิจการโทรทัศน์
และ ผศ.ดร.ประวิทย์ ชุมชู หัวหน้าโครงการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกันตอบข้อซักถามเกี่ยวกับสถานการณ์กิจการโทรทัศน์ไทยในปัจจุบัน ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. ซึ่งมีการสะท้อนผ่านข้อมูลที่ได้รับจากการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ภาคต่างๆทั่วประเทศ โดยเลือกลงพื้นที่ใน 3 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี กระบี่และ พะเยา


ทั้งนี้ได้ร่วมทำโฟกัสกรุ๊ปกับทีวีชุมชนอันดามันที่จังหวัดกระบี่ พะเยาทีวีที่จังหวัดพะเยา และอุบลทีวีที่อุบลราชธานี นอกจากนี้ยังได้มีการทำแบบสอบถามอีกประมาณ 1200 กว่าตัวอย่าง เพื่อนำมาทำเป็นข้อสรุปในเรื่องการติดตามและประเมินผล ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด


ทั้งนี้งานวิจัยระบุถึงข้อค้นพบว่าภาพรวมโทรทัศน์ของประเทศไทยในปัจจุบันมีความหลากหลาย ที่เป็นพหุนิยมนะครับ ตั้งแต่โครงสร้างการส่งสัญญาณก็จากทีวีดิจิตอลธรรมดาซึ่ง กสทช.กำกับดูแล เกือบ100%ทั้งประเทศ และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและโทรทัศน์ชนิดเคเบิ้ลที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งโทรทัศน์ IPTV ที่ให้บริการอยู่ 4 ราย


ซึ่งถ้ามองถึงเนื้อหาที่หลากหลายในปัจจุบันแต่ ถ้าถึงเยาวชนก็ยังอยากได้รายการสำหรับเด็กเพิ่มมากขึ้น และผู้พิการยังต้องการชมรายการโทรทัศน์ปกติ โดยให้มีล่ามภาษามือช่วยสื่อสารในรายการต่างๆเพิ่มมากขึ้น ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร กตป. ด้านกิจการโทรทัศน์ กล่าวเสริมว่า นอกจากการทำโฟกัสกรุ๊ปและแบบสอบถามแล้ว ยังได้มีการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสีย นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องในสายงานด้วย จึงรวบรวมบทสัมภาษณ์มาจัดทำเป็นหนังสือ Diversity ทีวีไทย ที่ได้นำมาเปิดตัวในครั้งนี้ด้วย ที่น่าสนใจคือเรื่องทีวีเฉพาะ อาทิ ทีวีภูมิภาคของช่อง 11 T-sport 7 คือช่อง 7 ทีวีเพื่อกีฬาและการท่องเที่ยว ช่อง 10 โทรทัศน์รัฐสภา และ ALTV ของไทย PBS นอกจากนี้ยังมีส่วนของเนื้อหาที่เดิมจะถือเป็นเรื่องหมิ่นเหม่และต้องห้าม เช่น เนื้อหารายการสำหรับเด็ก มีซีรีย์ Y ของช่อง GMM ซึ่งเกิดขึ้นตามกระแสความนิยมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป


นอกจากนี้ในงานยังมีการนำเสนอชุดการแสดงพิเศษจากน้อง ๆ สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย แล้วยังมีการเสวนาพิเศษในหัวข้อ“Diversity TV ไทย” ในด้านความหลากหลายทางพหุนิยมของกิจการโทรทัศน์ หรือ Diversity and Pluralism เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากิจการสื่อ และกิจการโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้มิติด้านการกำกับดูแล และการส่งเสริมความหลากหลายด้านกิจการโทรทัศน์ โดยมีผู้คนหลากหลายอาชีพและช่วงวัย ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้นประมาณ 150คน




ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.