Header Ads

คณะกรรมการ สบพ. ชุดใหม่เข้าเยี่ยมชมกิจการ สบพ.พร้อมขับเคลื่อนองค์กรขานรับนโยบาย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นางมนพร เจริญศรี)


เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และพนักงาน สบพ. ร่วมให้การต้อนรับ พลเอก ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ ประธานกรรมการ และคณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือนชุดใหม่ ในโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายสรุปภารกิจ บทบาท ผลการดำเนินงานในการผลิตและพัฒนาบุคลากรตามมาตรฐานสากล ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ และได้เยี่ยมชมห้องฝึกปฏิบัติการของสถาบันการบินพลเรือน ณ สบพ. กรุงเทพฯ  



สำหรับคณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน ชุดปัจจุบันประกอบด้วย

1. พลเอก ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ ประธานกรรมการ
2. ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ เพียรมนกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3. ดร.ดรุฒ คำวิชิตธนาภา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
4. พลอากาศเอก พงษ์สวัสดิ์ จันทสาร กรรมการผู้แทนกองทัพอากาศ
5. ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ กรรมการผู้แทนกระทรวงคมนาคม
6. นายณรงค์ อรุณภาคมงคล กรรมการผู้แทนกรมท่าอากาศยาน
7. นายวิทย์วศิน เรียนวัฒนา กรรมการผู้แทนบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
8. นายเจตน์ เมืองครุธ กรรมการ ผู้แทน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
9. นาวาอากาศตรี ดร.สมชนก เทียมเทียบรัตน์ กรรมการ ผู้แทน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
10. นางสาวศุกร์ศิริ อภิญญานุวัฒน์ กรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง
11. นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย กรรมการและเลขานุการ


ภายหลังการรับฟังการบรรยายสรุปคณะกรรมการได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยเฉพาะความสำเร็จในการผ่านการตรวจประเมินให้เป็นสถาบันฝึกอบรมของโลกในสมาชิกระดับ Platinum ซึ่งเป็น 1 ใน 9 แห่งจากจำนวน 128 สถาบันใน 77 ประเทศทั่วโลก และเป็น 1 ใน 4 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตามโครงการ ICAO TRAINAIR PLUS นอกจากนี้ ยังพร้อมรับนโยบายท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นางมนพร เจริญศรีในฐานะรัฐมนตรีที่กำกับดูแล สถาบันการบินพลเรือน ในการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในหน่วยงานเพิ่มเติม การบูรณาการพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านการบิน ให้มีหัวใจในการให้บริการ ตามนโยบาย “ราชรถยิ้ม” การบูรณาการในการผลิตบุคลากรการบินร่วมกับสถาบันการบินของประเทศอื่น ให้เพียงพอรองรับการกลับมาของอุตสาหกรรมการบินในอนาคต การพัฒนาหลักสูตรการบินและการฝึกอบรมเพื่อรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการพัฒนาอาคารสถานที่ตามแผนการพัฒนาศูนย์ฝึกการบิน การเตรียมบุคลากร ครูการบิน เครื่องบิน และเครื่องฝึกบินจำลอง เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการขานรับวิสัยทัศน์ Thailand Vision ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในการยกระดับศักยภาพด้านการบินของประเทศไทย เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ของภูมิภาค


ในการนี้ ได้มอบนโยบายให้ สบพ.นำเสนอภาพแห่งความสำเร็จที่ได้เป็นสถาบันฝึกอบรมที่มีมาตรฐานระดับโลกไปขยายผล โดยเฉพาะการทำความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลิตบุคลากรการบินที่มีคุณภาพและมาตรฐานสากลให้เพียงพอกับความต้องการของหน่วยงานในอุตสาหกรรมการบิน และเพิ่มการประชาสัมพันธ์บทบาทและภารกิจให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านสื่อมวลชนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ สบพ.ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.