ITD Research Forum 2023: Unlocking Trade for CLMVT มุ่งสู่การค้าเพื่อนบ้านยุคใหม่
นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย นายมนู สิทธิประศาสน์ ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา, นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, นายศุภกิจ เจริญกุล รองผู้อำนวยการ ITD, นายพยุงศักดิ์ อู่ทรัพย์ คณะที่ปรึกษา รมช.พณ., นายภูเบศร์ อภัยวงศ์ คณะที่ปรึกษา รมช.พณ., นายวัทธิกร หรุ่นศิริ คณะที่ปรึกษา รมช.พณ.ร่วมเปิดงานสัมมนา ITD Research Forum 2023: Unlocking Trade for CLMVT มุ่งสู่การค้าเพื่อนบ้านยุคใหม่ ณ โรงแรม เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ เมื่อวันพุธที่ 29 มีนาคม 2566
นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเปิดงานว่า "ผมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาเปิดงานสัมมนา ITD Research Forum 2023 ซึ่งจัดโดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ผ่านทางระบบไฮบริด ณ โรงแรม เบอร์เคลีย์ ผมขอขอบคุณ ผู้อํานวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ที่ได้จัดงานนี้ขึ้นมาในฐานะที่ประเทศไทยอาศัยการค้าระหว่างประเทศเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การค้าระหว่างประเทศให้สามารถขยายตัวได้อย่างต่อทั้งนี้ ประเทศไทยมีความได้เปรียบเชิงตําแหน่งที่ตั้ง เพราะตั้งอยู่ในภูมิภาคตอนบนของอาเซียน มีชายแดนเชื่อมโยงติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ส่วนเวียดนาม แม้ไม่มีชายแดนติดกันโดยตรง แต่ก็สามารถขนส่งสินค้าผ่านทางทะเลและการค้าข้ามแดนโดยใช้เวลาไม่มาก ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในเชิงเศรษฐกิจและเชิงวัฒนธรรมกับประเทศไทย โครงการวิจัยของไอทีดีที่นําเสนอในวันนี้มีความน่าสนใจและทันต่อสถานการณ์ การศึกษาเรื่องการค้าออนไลน์ข้ามแดนระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน มีประโยชน์อย่างมากต่อทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไทย เพื่อจะได้เข้าใจสถานการณ์การค้าออนไลน์ของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อประโยชน์ในการกําหนดนโยบายของภาครัฐและกลยุทธ์ธุรกิจของภาคเอกชน โดยคํานึงถึง ผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้าน”
ปี 2566 เป็นปีแห่งการก้าวสู่ยุคหลังการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่หลายประเทศได้ผ่อนคลายมาตรการป้องกันผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวเริ่มเข้าสู่ภาวะเกือบปกติ ถึงแม้ว่าบางประเทศ ยังคงมีมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายคนและสินค้าอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ถือเป็นอุปสรรคในการค้า ระหว่างประเทศมากนัก อย่างไรก็ตามทุกท่านคงทราบดีว่าการค้าระหว่างประเทศในระดับโลกยังไม่ปกตินัก เพราะกําลังซื้อในประเทศผู้นําเข้าหลักของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป รวมทั้งประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก
ในฐานะที่ประเทศไทยอาศัยการค้าระหว่างประเทศเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การค้าระหว่างประเทศให้สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยราบรื่นระหว่าง สหรัฐอเมริกากับจีน มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศโดยรวม ประเทศไทยจึงต้องปรับตัวและเตรียมตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กําลังจะเกิดข้ึน ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความได้เปรียบเชิงตําแหน่งที่ตั้ง เพราะตั้งอยู่ในภูมิภาคตอนบนของอาเซียน มีชายแดนเชื่อมโยงติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ส่วนเวียดนาม แม้ไม่มีชายแดนติดกันโดยตรงแต่ก็สามารถขนส่งสินค้าผ่านทางทะเลและการค้าข้ามแดนโดยใช้เวลาไม่มาก ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในเชิงเศรษฐกิจและเชิงวัฒนธรรมกับประเทศไทย โครงการวิจัยของไอทีดีที่นําเสนอในวันนี้มีความน่าสนใจและทันต่อสถานการณ์ การศึกษาเรื่องการค้าออนไลน์ข้ามแดนระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน มีประโยชน์อย่างมากต่อทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไทย เพื่อจะได้เข้าใจสถานการณ์การค้าออนไลน์ของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อประโยชน์ในการกําหนดนโยบายของภาครัฐและกลยุทธ์ธุรกิจของภาคเอกชน โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้าน”
"สำหรับการสัมมนา ITD Research Forum 2023: Unlocking Trade for CLMVT มุ่งสู่การค้าเพื่อนบ้านยุคใหม่ มีผู้ที่ให้เกียรติร่วมบรรยายดังนี้ ว่าที่ร้อยตรี กิตติพันธ์ มูลศรีชัย นายกสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตไทย บรรยายพิเศษภายใต้ชื่อ กลยุทธ์การผลิตและส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาดเพื่อนบ้านในยุคหลังโควิด-19 , คุณธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน อุปนายกสมาคม Thai Startup และผู้ก่อตั้ง Really Corp. บรรยายพิเศษในเรื่อง การพัฒนาศักยภาพธุรกิจดิจิทัลไทยสู่ภูมิภาค การนำเสนอผลงานวิจัยจากคณะนักวิจัยของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาและผลงานวิจัยจากนักวิจัยร่วมจาก สปป.ลาว และเวียดนาม มานำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง โครงการศึกษาการพัฒนาการค้าระบบดิจิทัลระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน CLMV โดยคุณวิมล ปั้นคง หัวหน้าโครงการวิจัย และผู้อานวยการสำนักพัฒนาและส่งเสริมการวิจัย ITD พร้อมกับคุณภัชชา ธารงอาจริยกุล นักวิจัย ITD, คุณมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ITD และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ขึ้นบรรยายพิเศษในหัวข้อ เจาะลึกโอกาสการค้าไทยกับประเทศเพื่อนบ้านยุคหลังโควิด-19, การนำเสนอผลงานวิจัยจากคณะนักวิจัยของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาร่วมกันกับนักวิจัยจากกัมพูชาและเมียนมาร์ มานำเสนอผลงานร่วมกันภายใต้ชื่องานวิจัย โครงการประเมินมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) และผลกระทบต่อการค้าและความสามารถในการแข่งขันของกลุ่ม CLMV กับประเทศไทย โดยคุณวิมล ปั้นคง หัวหน้าโครงการวิจัย และผู้อานวยการสานักพัฒนาและส่งเสริมการวิจัย ITD และนักวิจัยร่วมในโครงการอีก 3 ท่าน คือคุณอรณัฐ บุปผเวส นักวิจัย ITD คุณณัฐจำรีย์ เพ็ชรร่วง นักวิจัย ITD และคุณกอปร์ธรรม นีละไพจิตร นักวิจัย ITD สาหรับนักวิจัยชาวต่างชาติที่จะร่วมกันนำเสนอผลงานผ่านระบบออนไลน์ประกอบด้วย Associate Professor Dr. Alay Phonvisay (อาลัย พนวิไซ) นักวิจัยจาก สปป.ลาว และ Dr. Siphat Lim (สิพัด ลิม) นักวิจัยจาก กัมพูชา และปิดท้ายด้วยการ บรรยายพิเศษเรื่อง บทบาท ITD การขับเคลื่อนการค้าและการพัฒนาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยคุณมนู สิทธิประศาสน์ ผู้อานวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา"
การสัมนาในครั้งนี้มีคนให้ความสนให้เขา้าร่วมฟังการสัมนากว่า 300 คน เป็นบรรยายให้ความรู้ใหม่กับบรรดาประชาชนทั่วไปและบรรดา SME ได้เข้าใจทิศทางการตลาดมากขึ้น
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ สคพ. (International Institute for Trade and Development) เป็นหน่วยงานภายใต้การการกับดูแลของกระทรวงพาณิชย์ จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา
สคพ. เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสาคัญในการพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยและประเทศกาลังพัฒนา โดยสอดคล้องเชื่อมโยงและสนับสนุนการดาเนินภารกิจของหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการต่างประเทศ ฯลฯ ดาเนินงานหลักโดยจัดกิจกรรมการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา และการศึกษาวิจัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็น ผู้กาหนดนโยบายและการเจรจาการค้า รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจในภาคเอกชน ซึ่งส่งผลให้เกิดการเพิ่มศักยภาพในด้านการค้า การเงิน การลงทุน เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จนสามารถผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันทางการค้ากับต่างประเทศ ทั้งนี้ สคพ. ยังให้การสนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย
สคพ. มีวิสัยทัศน์ เป็นหน่วยงานจัดการองค์ความรู้ด้านการค้าเพื่อพัฒนา SMEs ไทยสู่อาเซียน และมีพันธกิจ เพื่อ (1) สร้างขีดความสามารถของประเทศกาลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียในการกาหนดนโยบายเศรษฐกิจและมาตรการทางกฎหมายร่วมกัน (2) จัดการอบรมและค้นคว้าวิจัยด้านการค้าและการพัฒนาให้แก่บุคลากรในภูมิภาคเอเชียให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ (3) สนับสนุนความร่วมมือและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ และ (4) เป็นศูนย์กลางจัดการฝึกอบรมและกิจกรรมเสริมศักยภาพด้านการค้าและการพัฒนาร่วมกับอังค์ถัดและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
เพื่อดาเนินงานให้บรรลุตามพันธกิจดังกล่าว สถาบันได้กาหนดจัดงานสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัย ประจาปี 2566 (ITD Research Forum 2023) เพื่อนาไปสู่การใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาทั้งด้านการกาหนดนโยบายและกลยุทธ์การดาเนินงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ โดยในงานสัมมนา ITD Research Forum 2023: Unlocking Trade for CLMVT มุ่งสู่การค้าเพื่อนบ้านยุคใหม่ นี้จะนาเสนอผลการศึกษาวิจัยปี 2565 จานวน 2 โครงการ ดังนี้ (1) โครงการประเมินมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) และผลกระทบต่อการค้าและความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มประเทศ CLMV กับประเทศไทย และ (2) โครงการศึกษาการพัฒนาการค้าระบบดิจิทัลระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน CLMV และมีการบรรยายพิเศษด้านการค้าและการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีความคิดเห็น